ฟื้นฟูกระดูกด้วยไทชิ
ไทซิซึ่งเป็นศิลปะท่วงท่าเคลื่อนไหวแบบจีนโบราณบางครั้งเรียกว่า“สมาธิในการเคลื่อนไหว“นอกจากทำให้จิตใจสงบเป็นสมาธิแล้วยังมีข้อมูลด้วยว่าไทซิให้ผลดีหลายอย่างต่อร่างกาย เช่น เพิ่มความยืดหยุ่นความสมดุล ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความรู้สึกตัวทั่วถึง
ไทซิอาศัยการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องไล่เลียงเป็นลำดับ เรียกว่า กระบวนท่าซึ่งมุ่งให้ “พลังชี่” (พลังภายใน) เคลื่อนไหวทั่วร่างกายได้โดยปลอดโปร่ง ร่างกายและจิตใจประสานกลมกลืนกันยิ่งขึ้น ถึงจะเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องชี้ แต่การบังคับให้ร่างกายเคลื่อนไหวต่อเนื่องอย่างเชื่องช้าก็ย่อมส่งผลดีต่อร่างกายแน่ๆ
► ทำให้ร่างกายทำงานประสานกันดีขึ้น บังคับร่างกายได้ดีขึ้น
► ช่วยรักษาสมดุลและการทรงตัว
► ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
► ช่วยให้เคลื่อนไหวคล่องตัวขึ้น
►มีแรงกระแทกน้อย
► ไม่ค่อยเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ให้ผลดีอย่างไรบ้าง
การฝึกไทชิทำให้รู้สึกตัวอย่างทั่วถึง การบังคับให้ร่างกายเคลื่อนไหวซ้ำๆ ตามลำดับชัดเจนด้วยความรู้สึกที่ผ่อนคลาย ช่วยให้รับรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีทุกอิริยาบถ และยังช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น มีความประสานสอดคล้องและสมดุลมากขึ้น คลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตึง ทำให้กระดูกและข้อรับน้ำหนักน้อยลง
การออกกำลังโดยควบคุมให้ร่างกายเคลื่อนไหวเชื่องช้ายังทำให้ได้ใช้งานกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนที่มักถูกละเลยเมื่อออกกำลังกายแบบต้องรับน้ำหนักโดยทั่วไปการศึกษาชิ้นหนึ่งที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน พบว่าการฝึกไทชิวันละ30 นาที 6 เดือน ช่วยให้คนวัย 50-60 ปีมีกล้ามเนื้อขาแข็งแรงขึ้นถึงร้อยละ 20
หนึ่งในข้อดีมากๆคือใครก็ฝึกได้มีแรงกระแทกต่ำและไม่ค่อยเสี่ยงต่อการบาดเจ็บทำให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหา เรื่องกระดูกและข้อ เนื่องจากช่วยเพิ่มความสมดุลจึงลดความเสี่ยงที่จะล้มและกระดูกแตกหักด้วย ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ อาจพบว่าการเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวลช่วยลดความฝืดตึงและทำให้ยึดหยุ่นดีขึ้น
กระบวนทำไทซิ
ตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาไทชิวิวัฒนาการจนมีมากมายหลายแบบ แบบที่ปัจจุบันทางตะวันตกนิยมฝึกกันมากที่สุดคือ แบบตระกูลหยาง ซึ่งใช้กระบวนท่าฝึกและการเคลื่อนไหวที่ผ่อนคลายซึ่งทำอย่างเนิบช้าและเสริมด้วยการหายใจอย่างสงบสม่ำเสมอ แต่ละแบบมีหลายกระบวนและจำนวนท่าเคลื่อนไหวในกระบวนท่าหนึ่งๆ มากน้อยต่างกัน ตั้งแต่แค่ 12 ท่าไปจนมากถึง 108 ท่า โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 5-15 นาทีจึงจะทำได้ครบทุกท่าซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกระบวนท่านั้นๆ
ทราบไหมว่า
รายงานการศึกษาเรื่องแนวโน้มที่ผู้สูงอายุจะหกล้ม ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกันเมื่อปี 1995 เปรียบเทียบ
ผลที่ได้รับจากการออกกำลังกาย 3 ประเภทที่รวมการฝึกไทซิด้วยพบว่า
- แผนออกกำลังกายแบบแรกรวมการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรง ความสมดุล และความทนทานลดความเสี่ยงที่จะล้มได้ร้อยละ 10
- แบบที่สองฝึกเพิ่มความสมดุลอย่างเดียว ลดความเสี่ยงที่จะล้มร้อยละ 25
- แบบที่สามชึ่งให้ฝึกไทชิ ลดความเสี่ยงที่จะล้มได้มากถึงร้อยละ 47
ช้าแต่แน่นอน
เวลาเริ่มหัดกระบวนท่าไทชิ แรกสุดต้องพยายามฝึกให้ซินกับท่าไหนก็ได้สักท่าสองท่าในกระบวนทั้งหมด ฝึกเฉพาะท่านั้นเป็นประจำก่อนแล้วค่อยๆฝึกท่าอื่นเพิ่มจะได้จำแต่ละท่าขึ้นใจถึงจะใช้เวลาแค่10นาทีก็ทำได้ครบถ้วนทั้งกระ บวน แต่อาจกินเวลาหลายเดือนกว่าจะจดจำได้หมดทุกท่าที่ประกอบเป็นกระบวนท่านั้น
ขอให้อดทน ยิ่งฝึกเคลื่อนไหวให้ช้าคุณก็จะยิ่งเข้าใจและได้ประโยชน์จากการฝึกมากขึ้น คุณอาจเริ่มเห็นผลในแง่ความยืดหยุ่น ความสมดุล และการทรงตัวหลังจากฝึกเพียงแค่ไม่กี่ครั้ง แต่อาจต้องฝึกยาวนานกว่านั้นมากจึงจะเห็นผลจริงจัง
ลองสักท่า… ม้าชะเง้อ
1) ยืนแยกเท้าให้ห่างเท่าสะโพก เท้าซ้ายหันตรงไปข้างหน้า เท้าขวาถอยไปข้างหลังหนึ่งก้าว ทำมุมห่างเล็กน้อย (ขาอยู่ในท่า “ยืนคันธนู” ตามตำรับนั่นเอง) งุ้มอุ้งมือขวาเป็นรูป ปากนก” แล้วเหยียดแขนออกข้างตัว วาดมือซ้ายตรงไปข้างหน้า ฝ่ามือตั้งขึ้น
2) เริ่มวาดเท้าซ้ายกลับคืน ยกส้นเท้าขึ้น วาดแขนขวาต่อไปทางขวาแล้วหงายมือขึ้นพร้อมกับมองไปที่มือขวา คว่ำฝ่ามือซ้ายลง
3) หันหน้ากลับไปทางซ้ายจนอยู่ในท่ามองตรงไปข้างหน้า วาดแขนขวากลับผ่านลำตัวจนเกือบตรง คว่ำฝ่ามือลง ลดมือซ้ายลงไปที่สะโพกซ้าย และหงายฝ่ามือขึ้น
There are no comments